ปิดกั้นการเข้าถึง ลดจำนวนหนูลงได้ 90%

การป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาในอาคารสามารถลดการระบาดของหนูโดยรวมลงได้ 90% ดังนั้นการปิดกั้นคุ้มกันอาคารไม่ให้หนูเข้ามานั้นจึงใช้ได้ผล

Print page

การปิดกั้นคุ้มกันอาคารไม่ให้หนูเข้ามานั้นใช้ได้ผล การศึกษาวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่มีการระบุและการซ่อมแซมจุดที่หนูเข้าถึงอาคารได้นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการระบาดของหนูลดลง 90% เมื่อเทียบกับอาคารที่ไม่ได้ทำการซ่อมแซม

การทำความเข้าใจพฤติกรรมของหนู รวมทั้งการระบุจุดที่เข้าถึงและกำจัดจุดเหล่านั้น ควรเป็นหนึ่งส่วนสำคัญของแผนการจัดการสัตว์รบกวนเชิงบูรณาการสำหรับหนู

วิ่ง กระโดด ปีนป่าย เบียดตัว และห้อยโหน

หนูว่องไวมากและสามารถกระโดดในแนวราบ ปีนท่อ เดินบนสายไฟระหว่างอาคาร กัดแทะรูผ่านวัสดุอาคาร และเบียดตัวผ่านรอยแตกที่มีความกว้างเพียง 1 เซนติเมตรได้ 

เคล็ดลับในการระบุจุดที่หนูเข้ามา

ช่องเพดานหรือบริเวณพื้นชั้นรอง:
ตรวจดูช่องเพดานหรือบริเวณพื้นชั้นรองในช่วงกลางวัน จุดเข้าถึงที่เป็นไปได้จะเห็นได้ในตำแหน่งที่แสงส่องเข้ามาจากภายนอก
มองหารอยแตกหรือรู ด้านในหรือใต้ฐานราก ช่องใต้พื้นอาคาร และประตูห้องใต้ดินที่ติดตั้งไม่เหมาะสม

จุดที่มีการเจาะสำหรับระบบไฟฟ้าและน้ำ:

ใช้บันไดเพื่อตรวจดูฝ้าชายคา หลังคาที่ยื่นออกมาเป็นรูปหน้าจั่ว ข้อต่อของเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้ง ท่อระบายอากาศในห้องครัวและห้องน้ำ สายเคเบิลหรือสายไฟฟ้าที่เดินสายไปสู่อาคารหรือหลังคาใกล้ๆ
ตรวจดูหลังคา

ช่องว่างและรอยแตก:
ตรวจดูประตูและหน้าต่างเพื่อหาช่องว่างและรอยแตกที่จะทำให้หนูเข้ามาได้
มองหา ‘บันไดต้นไม้’ (พุ่มไม้หรือต้นไม้ที่สัมผัสหรือยื่นออกมาจากอาคาร) ที่หนูสามารถปีนเพื่อขึ้นไปบนอาคารได้